วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552



ลักษณะสำนวนไทย


ลักษณะสำนวนไทย
ข้อความที่เป็นสำนวนไทยมีลักษณะดังนี้ คือ
1. มีความหมายโดยนัย คือความหมายม่ตรงตัวตามความหมายโดยอรรถ พูดอย่างหนึ่งม ีความหมายอีกอย่างหนึ่ง เช่น
กินปูนร้อนท้อง - รู้สึกเดือดร้อนเพราะมีความผิดอยู่
ขนทรายเข้าวัด - ร่วมมือร่วมใจกันทำบุญ
ฤษีเลี้ยงลิง - เลี้ยงเด็กซุกซน เป็นต้น
2. ใช้ถ้อยคำกินความมาก การใช้ถ้อยคำในสำนวนส่วนใหญ่เข้าลักษณะใช้คำน้อยกินความมาก เนื้อความมีความหมายเด่น เช่น ก่อหวอด ขึ้นคาน คว่ำบาตร ขมิ้นกับปูน คมในฝัก กิ้งก่าได ้ทอง ใกล้เกลือกินด่าง เด็ดบัวไว้ใย ซึ่งล้วนมีความหมายอธิบายได้ยืดยาว ส่วนที่ใช้ถ้อยคำหลายคำ แต่ละคำก็ล้วนมีความหมายและช่วยให้ได้ความกระจ่างชัดเจน
3. ถ้อยคำมีความไพเราะ การใช้ถ้อยคำในสำนวนไทยมักใช้ถ้อยคำสละสลวยมีสัมผัสคล้องจอง เน้นการเล่นเสียงสัมผัสสระ สัมผัสอักษร ให้เสียงกระทบกระทั่งกัน เกิดความไพระน่าฟังทั้ง สัมผัสภายในวรรคและระหว่างวรรค มีการจัดจังหวะคำหลายรูปแบบ เช่น เป็นกลุ่มคำซ้อน 4 คำ อย่าง ก่อกรรมทำเข็ญ ก่อร่างสร้างตัว คู่ผัวตัวเมีย คู่เรียงเคียงหมอน คำซ้อน 6 คำ เช่น ขิงก็ราข่าก็แรง ขี้ก้อนใหญ่ให้เด็กเห็น ยุให้รำตำให้รั่ว ลูกเต็มบ้านหลานเต็มเมือง คำซ้อน 8 คำ หรือมากกว่าบ้าง เช่น ไก่งามเพราะขนคนงามเพราะแต่ง กินอยู่กับปากอยากอยู่กับท้อง กำแพงมีหูประตูมีตา เป็นต้น
ลักษณะสัมผัสคล้องจองเป็นร้อยกรองง่ายๆ หลายรูปแบบ มีทั้งคล้องจองกันในข้อความตอน เดียว เช่น ตื่นก่อนนอนหลัง ต้อนรับขับสู้ ผูกรักสมัครใคร่ โอภาปราศรัย และคล้องจองในข้อ ความที่เป็น 2 ตอน ซึ่งมีอยู่จำนวนมากและในข้อความมากกว่า 2 ตอน เช่น น้ำมาปลากินมด น้ำลดมดกินปลา เอาหูไปนา เอาตาไปไร่ อย่าไว่ใจทาง อย่าวางใจคน จะจนใจเอง เป็นต้น
4. สำนวนไทยมักมีการเปรียบเปรย หรือมีประวัติที่มา ส่วนใหญ่มาจากการเปรียบเทียบกับ ปรากฏการณ์ธรรมชาติ ประเพณี ศาสนา นิยาย นิทานต่างๆ กิริยาอาการ และส่วนต่างๆ ของร่างกาย ตัวอย่างเช่น กลับหน้ามือเป็นหลังมือ นอนตาไม่หลับ ใจดีสู้เสือ กินไข่ขวัญ ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง เป็นต้น